ทำไมต้องทำฟุตติ้ง
ทำไมต้องทำฟุตติ้ง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- ความสำคัญของการทำฟุตติ้ง
- เทคนิคการทำฟุตติ้ง เสาเหล็ก
- ฟุตติ้งหล่อสำเร็จงานเสร็จไว
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 065-940-3065 หรือ Add line @steelekk สตีลเหล็กมีบริการจัดส่งฟรี งานเสร็จไว ส่งตรงถึงหน้างาน
ความสำคัญของการทำฟุตติ้ง
ฐานราก หรือที่ช่างนิยมเรียกกันว่า “ฟุตติ้ง” คือโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากเสาแล้วถ่ายลงสู่ดิน การใช้ฐานรากแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ
- ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินที่มีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินที่ตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น พื้นที่ดินลูกรัง พื้นที่ภูเขาทะเลทราย
- ฐานรากลึก (Deep Foundation) หรือแบบมีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนักปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนดินอ่อน มีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็มและความลึกให้มีลักษณะ แตกต่างกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงของฐานราก
- ความแข็งแรงของตัวฐานรากเอง ซึ่งหมายถึงโครงสร้างส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
- ความสามารถในการแบกรับน้ำหนักของดินใต้ฐานราก
- การทรุดตัวของดินใต้ฐานราก ควรเกิดขึ้นได้น้อย และใกล้เคียงกันทุกฐานราก
ประเภทของฐานราก ทั้งฐานรากชนิดตื้นและชนิดลึก มีลักษณะของการก่อสร้างและความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน แบ่งได้ดังนี้
- ฐานแผ่เดี่ยว (Spread Footing) หมายถึงฐานรากที่รับน้ำหนักจากเสาอาคาร เพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน ความหนาของตัวฐานต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้อย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันการกัดกร่อนตัวเหล็กเสริมเนื่องจากความชื้น ในบางกรณีที่เสาอาคารไม่วางอยู่บนศูนย์กลางฐานราก เช่นอยู่ติดเขตที่ดินอาจถูกออกแบบให้เสาวางอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก เราเรียกว่าฐานรากแบบนี้ว่า ฐานรากตีนเป็ด
- ฐานต่อเนื่องรับกำแพง (Continuous Footing) หมายถึงฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากผนังก่ออิฐ หรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารหลายๆ ชั้น ขนาดความกว้างของฐานรากขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่กดลงสู่ฐานราก
- ฐานแผ่ร่วม (Combined Footing) เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากเดี่ยวที่สมมาตรได้ ซึ่งฐานรากที่ไม่ สมมาตรนี้เมื่อรับน้ำหนักที่ถ่ายลงบนฐานไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงเยื้องศูนย์ อาจทำให้อาคารทรุดตัวได้
- ฐานรากชนิดมีคานรัด (Cantilever Footing) เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากที่สมมาตรได้อีกวิธีหนึ่ง เหมาะกับเสาของอาคารที่มีความจำเป็นต้องสร้างประชิดติดกับอาคารเดิม หรือแนวเขตดินที่ไม่สามารถวางตาแหน่งของฐานให้ ตรงกับแนวเสาตอม่อได้ จึงออกแบบให้มีคานคอนกรีตแบกรับน้ำหนักจากเสาตอม่อ
- ฐานรากแพ (Mat or Raft Foundation) เป็นฐานร่วมขนาดใหญ่ใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาหลายๆ ต้น โดยจะแผ่บนพื้นที่กว้างๆ บางครั้งจะใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาทุกต้นของอาคารก็ได้โดยมากแล้วเราจะใช้ฐานแพกับอาคารสูง ข้อดีของฐานรากชนิดนี้เมื่อเทียบกับฐานรากเดี่ยวคือ กระจายน้ำหนักสู่ดิน หรือหินเบื้องล่างได้ดีกว่า และปัญหาการทรุดตัวต่างระดับแทบหมดไป เพราะฐานรากชนิดนี้มีความต่อเนื่องกันตลอดโยงยึดกันเป็นแพ แต่การก่อสร้างจะยุ่งยาก และสิ้นเปลือง
เทคนิคการทำฟุตติ้ง
เทคนิคทำฟุตติ้งอย่างไร? ให้ฐานบ้านแข็งแรงมั่นคง
ฟุตติ้ง (Footing) หรือ ฐานราก คือส่วนประกอบโครงสร้างที่อยู่ใต้ผิวดิน ถือเป็นชิ้นส่วนของบ้านที่ต้องก่อสร้างเป็นอันดับแรก ซึ่งมีหน้าที่ในการคอยรับน้ำหนักจากตอม่อ แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน หรือ เสาเข็ม ซึ่งจะเห็นได้ว่าการลงฟุตติ้งให้แข็งแรงมั่นคงนั้นเป็นขั้นตอนที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการก่อสร้างบ้าน หรืออาคาร สำหรับวิธีลงฟุตติ้งให้ถูกต้องและแข็งแรงมั่นคง จะมีเทคนิคง่ายๆ ให้สามารถนำไปใช้ ดังนี้
คนิคลงฟุตติ้งอย่างไร? ให้ฐานม
- สำรวจสภาพดิน และสภาพแวดล้อม ว่ามีความเหมาะสมในการลงฟุตติ้งหรือไม่
- เลือกใช้ฟุตติ้งตามประเภท โดยคำนึงจากสภาพของดินบริเวณนั้น เช่น ดินแข็งควรเลือกใช้ฐานรากแผ่ และดินอ่อนเลือกใช้ ฐานรากที่มีเสาเข็มรองรับ
- ต้องเลือกใช้ปูนสำหรับลงฟุตติ้งโดยเฉพาะ ให้ความสำคัญกับการเลือกวัสดุให้ถูกต้อง อย่างปูนที่ใช้ลงฟุตติ้ง ต้องเลือกใช้ปูนโครงสร้าง ห้ามเลือกใช้ปูนฉาบโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดปัญหาฐานทรุดตัว ทำให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างอาคารได้ทั้งหลัง
- ลงเสาเข็มลงฟุตติ้งให้ถูกวิธี โดยเทคอนกรีตทับหน้าดิน ก่อนเทต้องทำความสะอาดและตกแต่งเสาเข็มให้เรียบร้อย แล้วเทคอนกรีตหยาบใต้ท้องฐานราก เป็นการป้องกันสิ่งเจือปนที่ผสมในคอนกรีต ควรให้เสาเข็มโผล่พ้นพื้นดินประมาณ 5 ซม. เพื่อให้ฐานรากถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มได้ดี แล้วใช้ลูกปูนหนุนตะแกรงเหล็กด้านล่างและด้านข้าง ตามด้วยเทคอนกรีตทับลงไป เพื่อป้องกันปัญหาฐานรากเป็นโพรง ในระหว่างเทต้องมีการกระทุ้งด้วยเครื่องมือ เครื่องสั่น หรือมือ เป็นต้นไม่ให้มี
- ตรวจสอบการลงฟุตติ้งอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของฐานรากต้องตรงตามแบบ ตรวจสอบระยะกึ่งกลางของเสาตอม่อ ตรวจสอบความกว้าง ยาวและลึกของหลุม รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการทำเสาเข็มและฐานรากต้องตรงตามแบบ และตรวจสอบก้นหลุมฐานราก การติดตั้งเหล็กเสริมตรงตามแบบหรือไม่ การเท ถอดแบบหล่อ บ่มคอนกรีต ซึ่งทั้งหมดนี้หากเราควบคุมได้ทุกขั้นตอน ไม่ให้มีความผิดพลาด มั่นใจได้ว่าในการสร้างบ้านจะมีความปลอดภัยและมีโครงสร้างที่มั่นคงอย่างแน่นอน
ความมั่นคงของฐานรากขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง?
1. โครงสร้างของฐานรากมีความแข็งแรง เพราะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
2. ฐานรากสามารถแบกรับน้ำหนักใต้ดินได้ดี
3. ทุกฐานราก อาจจะมีโอกาสทรุดตัวของดิน แต่ควรเกิดขึ้นเล็กน้อยและใกล้เคียงกัน
ฟุตติ้งหล่อสำเร็จ คืออะไร
ฟุตติ้งหล่อสำเร็จ คือ ฐานรากสำเร็จรูปที่หล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ขึ้นเป็นรูปร่างพร้อมใช้งาน สะดวกต่อการใช้งานเพียงแค่ยกไปวางที่หน้างานได้ทันที ลดการเก็บสต็อคของหน้างาน ลดแรงคนหล่อหน้างาน ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเหล็กและคอนกรีตมาผูกและเทเองที่หน้างาน มีขนาดสำเร็จตามมาตราฐานที่หน้างานก่อสร้างใช้งาน สนใจฟุตติ้งหล่อสำเร็จ หรือ ฟุตติ้งสำเร็จรูป สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 065-940-3065 หรือ Add line @steelekkสติลเหล็กมีบริการจัดส่งฟรี งานเสร็จไว ส่งตรงถึงหน้างานในจังหวัดระยอง
ฟุตติ้ง คือ ฐานรากของงานก่อสร้าง ฐานราก หรือที่ช่างนิยมเรียกกันว่า “ฟุตติ้ง” คือโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากเสาแล้วถ่ายลงสู่ดิน การใช้ฐานรากแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศสนใจฟุตติ้งหล่อสำเร็จ หรือ ฟุตติ้งสำเร็จรูป สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 065-940-3065 หรือ Add line @steelekkสติลเหล็กมีบริการจัดส่งฟรี งานเสร็จไว ส่งตรงถึงหน้างานในจังหวัดระยอง
ความผิดพลาด มั่นใจได้ว่าในการสร้างบ้านจะมีความปลอดภัย